6 ตุลา วันนองเลือด
ภาพจาก......https://pantip.com/topic/30925530 |
6 ตุลาคม 2519
เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ
ก่อนจะเป็น 6 ตุลา
ผลสืบเนื่องของ14 ตุลา
14ตุลา 2516 นักศึกษาได้เดินขบวนรียกร้องรัฐธรมนูญ เป็นผลให้จอมพล ถนอม จอมพล ประภาส และพันเอก ณรงค์ ออกจากประเทศ
ช่วงปี 2518 ถึง 2519 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผลัดกันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลขาดเสียงข้างมากในสภา รัฐบาลจึงขาดเสถียรภาพ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำระหว่างประเทศและการนัดหยุดงานประท้วงและการประท้วงของชาวนามากขึ้น
ด้านสถานการณ์โลกในชณะนั้น สงครามเย็นก็กำลังดำเนินอยู่ ประเทศเพื่อนบ้าน คือ ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ล้วนเปลี่ยนไปเป็นลัทธิคอมมิวนิสต์ จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์
เดือนมกราคม 2519 เป็นเดือนแห่งกลียุค มีกาชุมนุมและนัดหยุดงานขนาดใหญ่ ทำให้ทหารหลายคนมองว่ารัฐประหารจำเป็นเพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพ และหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ทำตามคำขอของสหภาพ ทำให้ฝ่ายขวามีการชุมนุมจำนวน 15,000 คน ซึ่งจัดโดยกลุ่มกึ่งทหาร นวพล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลตรีประมาณ เรียกร้องให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ส่งมอบอำนาจคืนแก่ทหาร กลุ่มสมาชิกรัฐสภาเสรีนิยมจากพรรคประชาธิปัตย์แตกกับรัฐบาลผสมและเข้ากับฝ่ายค้านซึ่งเป็นฝ่ายซ้าย พลเอกบุญชัยคัดค้านความคิดรัฐบาลผสมเอียงซ้าย ซึ่งบีบให้หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่กำหนดมีขึ้นวันที่ 4 เมษายน ซึ่งกระชั้นเกินไป พลเรือเอกสงัด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงยื่นแผนรัฐประหาร
ในเดือนสิงหาคม พลเอกทวิชจัดการให้จอมพลประภาสเดินทางกลับประเทศไทยช่วงสั้น ๆ เพื่อทดสอบมติมหาชน โดยอาศัยปฏิกิริยาดังกล่าว พลตรีประมาณตัดสินใจนำจอมพลถนอมกลับประเทศด้วยหวังจุดชนวนการเดินขบวนประท้วงซึ่งอาจใช้เป็นข้ออ้างรัฐประหารได้ หม่อมราชวงศ์เสนีย์พยายามดักการคบคิดเพิ่มเติมโดยถอดพลเอกทวิชจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สมัคร สุนทรเวช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้คบคิดรัฐประหาร วิจารณ์หม่อมราชวงศ์เสนีย์อย่างรุนแรงในการเคลื่อนไหวนี้โดยการระเบิดอารมณ์ขัดระเบียบการของรัฐสภา การปลดสมัครมีขึ้นตามมาในวันที่ 23 กันยายน
กลุ่มที่เกี่ยวข้อง
ด้วยมุมมองที่ว่า นักศึกษาเป็นฝ่ายสืบรับอุดมการณ์สังคมนิยม ชนชั้นปกครองไทยจึงดำเนินการทางลับเพื่อบ่อนทำลายขบวนการนิสิตนักศึกษา โดยสลายฝ่ายนักเรียนอาชีวศึกษาออกมา แล้วจัดตั้งเป็นกลุ่มพลังต่าง ๆ เช่น กระทิงแดง นวพล ค้างคาวไทย เป็นต้น โดยมุ่งตั้งตนเป็นปรปักษ์กับกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย มีการยกกำลังเข้าทำร้ายนักศึกษาและทำลายสถานที่ถึงภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลายครั้ง ในเวลาไล่เลี่ยกัน
โดยมีชมรมวิทยุเสรี เป็นสื่อกลางชี้นำกลุ่มพลังเหล่านี้ ซึ่งสถานีวิทยุยานเกราะอันเป็นเครือข่ายของกองทัพบกเป็นแม่ข่าย และผู้จัดรายการคือ พลโท อุทาร สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, อาคม มกรานนท์, ทมยันตี, สมัคร สุนทรเวช, อุทิศ นาคสวัสดิ์ เป็นต้น
ตั้งแต่เดือนกันยายน
เมื่อวันที่ 7 กันยายน มีการอภิปรายในหัวข้อ "ทำไมจอมพล ถนอม จะกลับมา" ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อภิปรายหลายคนสรุปว่า ส่วนหนึ่งเป็นแผนการที่วางไว้เพื่อวางแผนรัฐประหาร
ในวันที่ 19 กันยายนเมื่อจอมพลถนอมเดินทางกลับ เขาปฏิเสธแรงจูงใจทางการเมือง และกล่าวว่า เขามาประเทศไทยเพียงเพื่อสำนึกความผิดที่เตียงบิดาผู้เสียชีวิตเท่านั้น เขาอุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดบวรนิเวศวิหาร พิธีการถูกปิดอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อเลี่ยงการคัดค้านการบวชและกลุ่มกระทิงแดงล้อมวัดไว้จากนั้นมีวิทยุยานเกราะตักเตือนมิให้นักศึกษาก่อความวุ่นวาย มิฉะนั้นอาจต้องมีการประหารชีวิตสัก 30,000 คนเพื่อให้บ้านเมืองรอดปลอดภัยมีการคัดค้านสถานะภิกษุของจอมพลถนอม
ภาพจาก....http://freedom-thing.blogspot.com |
วันที่ 23 กันยายน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ไม่อาจจัดการอะไรได้ จึงขอลาออก
ในวันที่ 30 กันยายนนักศึกษาประท้วงการกลับของจอมพลถนอมที่สนามหลวง แต่ไม่นานการประท้วงย้ายไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์ใกล้เคียงแทน มหาวิทยาลัยยกเลิกการสอบและปิดวิทยาเขต ด้วยหวังไม่ให้เกิดเหตุตำรวจอาละวาดซ้ำรอยเมื่อปีกลาย ทว่า ผู้เดินขบวนพังประตูเข้าไปยึดวิทยาเขตและยึดพื้นที่ประท้วง
สหภาพแรงงานสี่สิบสามแห่งเรียกร้องให้รัฐบาลเนรเทศจอมพลถนอมมิฉะนั้นจะนัดหยุดงานทั่วไป การประท้วงคราวนี้ยิ่งกว่าคราวที่จอมพลประภาสกลับมาเสียอีก
ทว่าในระยะแรก การชุมนุมต่อต้านของฝ่ายนิสิตนักศึกษาที่ลานโพ หน้าอาคารคณะศิลปศาสตร์ กลับมีประชาชนทั่วไปเข้าร่วมไม่มากเมื่อเทียบกับเมื่อครั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา
กิจกรรมต่อต้านหนึ่งของนิสิตนั6กศึกษาคือการปิดโปสเตอร์แสดงจุดยืนและเชิญชวนให้เข้าร่วมการชุมนุมทั่วกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วประเทศ เป็นเหตุให้นักศึกษาและแนวร่วมซึ่งออกปิดโปสเตอร์ดังกล่าวถูกลอบทำร้ายบาดเจ็บหลายครั้ง จนเกิดคดีที่พนักงานการไฟฟ้า 2 คน ซึ่งร่วมปิดโปสเตอร์ประท้วงที่ตำบลพระประโทน จังหวัดนครปฐม ถูกทำร้ายจนเสียชีวิตแล้วนำศพไปแขวนคอไว้หน้าประตูทางเข้าที่ดินจัดสรรแห่งหนึ่ง แต่ตำรวจไม่สามารถจับกุมผู้กระทำความผิด
บ่ายวันที่ 4 ตุลาคม ชมรมศิลปการแสดงของธรรมศาสตร์จัดแสดงละครรำลึกถึงเหตุการฆ่าคนดังกล่าวที่ลานโพ แล้วในช่วงบ่ายเปิดเวทีปราศรัยใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ก่อนย้ายเข้าสนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ในช่วงค่ำ
การแสดงละครสะท้อนคดีช่างไฟฟ้า ภาพจาก..http://freedom-thing.blogspot.com |
วันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์กรุงเทพมหานครสองฉบับ ได้แก่ บางกอกโพสต์ และ ดาวสยาม ลงภาพการแสดงล้อการแขวนคอโดยผู้เดินขบวนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากนักศึกษาที่แสดงเป็นเหยื่อมีใบหน้าคล้ายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
จากนั้น สถานีวิทยุยานเกราะของกองทัพบก นำโดยพันโท อุทาร สนิทวงศ์และผู้ประกาศคนอื่น กล่าวหาว่า นักศึกษาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม มีการชุมนุมประท้วงในอีกหลายจังหวัด เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดสงขลา เป็นต้น ค่ำวันเดียวกัน ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) นำวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ และอภินันท์ บัวหภักดี ผู้แสดงเป็นศพผู้ถูกแขวนคอ มาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยชี้แจงเหตุผลในการเลือกทั้งสองเป็นผู้แสดงว่า เป็นผู้มีรูปร่างเล็ก เมื่อหิ้วแขนขึ้นบนต้นไม้จะไม่ทำให้กิ่งไม้หักได้ง่าย เนื่องจากมีน้ำหนักเบา
เกิดอะไรขึ้นในวันที่ 6 ตุลา
เมื่อเวลาประมาณ 5 นาฬิกา มีการยิงลูกระเบิดเอ็ม 79 ลงกลางสนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ
เมื่อเวลาประมาณ 7 นาฬิกาตำรวจตระเวนชายแดนปิดทางออกทั้งหมด รถบรรทุกของพุ่งเข้าชนประตูใหญ่และตำรวจเข้าไปในมหาวิทยาลัย
เมื่อเวลาประมาณ 11 นาฬิกา นักศึกษาหลายคนที่ติดอาวุธเปิดฉากยิง แต่พ่ายไปในเวลาอันสั้น แม้ว่านักศึกษาจะร้องขอให้หยุดยิง แต่พลตำรวจเอกชุมพล ผู้บัญชาการตำรวจ อนุญาตให้ยิงเสรีในมหาวิทยาลัย
ภาพจาก....http://chaoprayanews.com |
ร้อยตำรวจโท วัชรินทร์ เนียมวณิชกุล
ยิงปืนเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขณะในปากยังคาบบุหรี่
ภาพจาก......https://th.wikipedia.org/wiki
|
ช่วงเช้าวันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีนัดประชุมเป็นการด่วนเพื่อประเมินสถานการณ์ โดยตามรายงานของ พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ ระบุว่า ตำรวจซึ่งเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถูกนักศึกษาทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต แต่รายงานของพลตำรวจเอก ศรีสุข มหินทรเทพ อธิบดีกรมตำรวจ กลับระบุว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมสถานการณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว จึงเกิดความสับสนว่าควรประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ โดยมีความเห็นออกเป็นสองฝ่ายคือ รัฐมนตรีฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล ต้องการให้ประกาศ ส่วนรัฐมนตรีของพรรคชาติไทยและพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ เห็นว่าไม่ต้องประกาศ ทว่าสุดท้ายก็มิได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
พลเรือเอกสงัดชี้แจงต่อหม่อมราชวงศ์เสนีย์ว่า เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ทหารกลุ่มตนมีความจำเป็นต้องรัฐประหาร ในเวลา 18:00 น. มิฉะนั้นจะมีทหารอีกกลุ่มหนึ่งก่อการในเวลา 04:00 น. ขอให้เข้าใจด้วย ทั้งยังขอให้หม่อมราชวงศ์เสนีย์เป็นประธานที่ประชุมหรือเป็นที่ปรึกษา ซึ่งหม่อมราชวงศ์เสนีย์ปฏิเสธไปทั้งหมด โดยให้เหตุผลว่าตนเดินคนละเส้นทางกับทหาร
เมื่อรุ่งเช้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์แต่งตั้งพลเรือเอกสงัดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในวันที่ 25 กันยายน
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเป็นกลุ่มนายทหารสายกลาง ซึ่งก่อการเพื่อป้องกันมิให้กลุ่มขวาจัดของพลตรีประมาณยึดอำนาจ
19.10 น.ภายหลังรัฐประหารคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
ภายหลังเหตุการณ์
ไม่มีผู้ก่อการคนใดถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและประเด็นดังกล่าวมีความละเอียดอย่างยิ่งในประเทศไทย
สมาชิกคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองได้รับการนิรโทษกรรม
แต่ไม่มีการห้ามดำเนินคดีกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย
หนังสือเรียนประวัติศาสตร์สมัยใหม่ในประเทศไทยจำนวนมากข้ามเหตุการณ์นี้ไปทั้งหมด
หรือรวมรายงานด้านเดียวของตำรวจในขณะนั้นซึ่งอ้างว่าผู้ประท้วงนักศึกษาก่อเหตุรุนแรง
บางเล่มลดความสำคัญของการสังหารหมู่ลงเป็นเพียง "ความเข้าใจผิด"
ระหว่างสองฝ่าย ขณะที่แม้แต่เล่มที่แม่นที่สุดก็ยังเป็นเหตุการณ์ฉบับที่ลดความรุนแรงลง
ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจจะกูล เสนอเหตุผล 4
ประการที่ทำให้ไม่มีประวัติศาสตร์สาธารณะของเหตุการณ์ 6 ตุลา ดังนี้
- ฝ่ายชนะ คือ ฝ่ายที่มีส่วนโดยตรงหรือโดยอ้อมในเหตุการณ์ล้วนเป็นผู้มีอำนาจและอิทธิพลในสังคมไทย จึงไม่ได้ประโยชน์จากการเปิดเผยเหตุการณ์
- เหตุการณ์นี้เป็นความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ไม่ได้มีผู้ร้ายคนเดียว เทียบกับเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่สังคมสรุปว่า ผู้ร้ายคือ ระบอบเผด็จการทหาร จึงมักมีการแยกสองเหตุการณ์นี้ออกจากกัน
- ผู้ถูกกระทำ "ลืมไม่ได้" แต่ "จำไม่ลง" ในขณะเดียวกัน
- แม้สังคมไทยจะเปลี่ยนทัศนคติจากที่มองว่านักศึกษากระทำผิดเป็นเหยื่อ แต่กระแสหลักของสังคมกำหนดว่า นักศึกษาต้องเลิกต้องข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งเป็น "การหุบปากเหยื่อเพื่อสมานฉันท์สังคม"
ในเดือนตุลาคม 2537 พันตำรวจตรี มนัส สัตยารักษ์ เขียนบทความชื่อ "รำลึก
6 ตุลาคม 2519 วันวังเวง" ในมติชนสุดสัปดาห์ มีใจความว่า
ตำรวจใช้กำลังเกินกว่าเหตุทั้งการใช้อาวุธและการควบคุมนักศึกษา เขาว่า
"ตำรวจที่อยู่รอบนอก [มหาวิทยาลัย]
ใช้อาวุธปืนประจำตัวยิงเข้าไปในมหาวิทยาลัยโดยไม่ได้หวังผลอะไรมากไปกว่าสร้างความพอใจให้แก่ตัวเอง"
เขายังเห็นว่า การชุมนุมของนักศึกษาเป็นไปโดยสงบตลอด ซึ่งชี้ว่า
นักศึกษาบริสุทธิ์และตำรวจบางนายไม่เห็นด้วยกับวิธีการปราบปรามในวันนั้น
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดงานประจำขึ้นทุกปีเพื่อจัดแสดงหนังสือพิมพ์ที่แสดงความชั่วร้าย
ร่วมกับรายงานของพยานและบันทึกประวัติศาสตร์ มีการสร้างประติมากรรมอนุสรณ์ในมหาวิทยาลัยใน
พ.ศ. 2539
อนุสรณ์ 6 ตุลา https://prachatai.com/journal/2014/10/55845 |
อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น