14 ตุลา วันมหาวิปโยค

14 ตุลา วันมหาวิปโยค
ภาพจาก...http://topicstock.pantip.com

14 ตุลาคม พ.ศ.2516


เหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิตติขจร โดยในเหตุการณ์นี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก"



สาเหตุ

เหตุการณ์ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมมานาน หลายอย่าง

1.ข่าวการทุจริตในรัฐบาล 

2.การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร 

3.การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นช่วงเวลาที่            รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี 

4.การรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514 

ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น




จุดเริ่มต้นสู่การประท้วงครั้งยิ่งใหญ่

เริ่มต้นมีการพิมพ์ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" ออกเผยแพร่ ทำให้ประชาชนเกิดความสนใจ จากนั้นนิสิตนักศึกษา ก็รวมตัวกันแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ จนถูกทหารควบคุมตัว และเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" 

13 ขบถรัฐธรรมนูญ
ภาพจาก....http://amis406.blogspot.com


จึงทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่นักศึกษาและประชาชน จนเกิดการประท้วงเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สู่การเดินประท้วงในถนนราชดำเนิน โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก



กิดอะไรขึ้นในวันที่ 14 ตุลา


 13 ตุลาคม : การเดินขบวนเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ออกไปตามถนนราชดำเนิน สู่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน) ระหว่างนั้น แกนนำนักศึกษาเข้าพบเจรจากับรัฐบาล และบางส่วนเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วลา 05.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม :  พ.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชรเป็นผู้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้แก่ผู้ชุมนุมฟัง  จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว 
    แต่ด้วยอุปสรรคทางการสื่อสาร และมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้ จึงเกิดการปะทะกัน ระหว่างกำลังตำรวจปราบจลาจลกับผู้ชุมนุม ที่บริเวณถนนราชวิถีตัดกับถนนพระราม 5 ช่วงหน้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งเป็นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เดินทางกลับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำ กลับไม่ยอมให้ผ่าน เนื่องจากรับคำสั่งจาก พล.ต.ท.ประจวบ สุนทรางกูร รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษ
เวลา06:05 น. 14 ตุลาคม :ได้เกิดการปะทะขึ้น โดยการปะทะกันดังกล่าว บานปลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังท้องสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถนนราชดำเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง 
ภาพจาก....https://www.silpa-mag.com

เวลาบ่าย 14 ตุลาคม :พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง บินวนอยู่เหนือเหตุการณ์ และมีการยิงปืนลงมา เพื่อสลายการชุมนุม ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เชื่อว่า บุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พันเอก ณรงค์ กิตติขจร บุตรชายของจอมพล ถนอม และบุตรเขยของจอมพล ประภาส ซึ่งคาดหมายว่าจะสืบทอดอำนาจ ต่อจากจอมพล ถนอม และจอมพล ประภาส

 เวลาหัวค่ำ 14 ตุลาคม:สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศว่า จอมพล ถนอม ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยด้วยพระองค์เอง 
   แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ 
เวลา22:00 น.14 ตุลาคม :ประกาศท้าทายกฎอัยการศึก และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 
15 ตุลาคม :มีประกาศว่า จอมพล ถนอม จอมพล ประภาส และพันเอก ณรงค์ เดินทางออกนอกประเทศแล้ว ทางราชการออก ประกาศของผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ พลเอก กฤษณ์ สีวะราให้ประชาชนนักศึกษากลับเข้าบ้านภายในเวลา 20.00 น. เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง
จอมพล ถนอม จอมพล ประภาส และพันเอก ณรงค์
ภาพจาก....http://www.soccersuck.com

 
16 ตุลาคม :ผู้ชุมนุมและประชาชน ช่วยกันทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย ในส่วนของรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ได้มีการแต่งตั้งพลเอกกฤษณ์ สีวะราเป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ อย่างเป็นทางการ




หลังเหตุการณ์

ภายหลังเหตุการณ์นี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือท้องสนามหลวง และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของกองทัพอากาศที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อ่าวไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้าง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ขึ้นที่ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง 



อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา
http://www.14tula.com/memorial.htm


 มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้สนามม้านางเลิ้งเป็นที่ร่าง เรียกกันว่า "สภาสนามม้า" นำไปสู่การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518 ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" 

  แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศจากการรุกคืบของลัทธิคอมมิวนิสต์และผลกระทบจากสงครามเวียดนาม แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ นำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2519 คือ เหตุการณ์ 6 ตุลา


   และในพ.ศ. 2546สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปีเหตุการณ์14 ตุลา
อ้างอิง

https://th.wikipedia.org

ความคิดเห็น